แทงหวยไม่อั้น แทงไม่อั้น เว็บแทงหวย

ประวัติความเป็นมา เทศกาลยี่เป็ง ประเพณีลอยกระทง เชียงใหม่ ตามฉบับชาวล้านนา

เทศกาลยี่เป็ง หรือการปล่อยโคมลอย นั้นเป็นประเพณีของชาวเหนือมาแต่ช้านาน และพอเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนต่างก็ต้องนึกเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นรูปแบบปกติที่ทำกันทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่ใครที่อยากได้ความแปลกใหม่ เราขอแนะนำให้ไปที่ จังหวัดเชียงใหม่ กันดูครับ เพราะที่นี่เขามีความพิเศษกว่าจังหวัดอื่น ๆ อยู่ด้วย ซึ่งนั่นก็คืองาน ประเพณีเดือนยี่เป็ง งานลอยกระทง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะมีการปล่อยโคมลอยเป็นจำนวนมาก นับร้อยและนับพันโคม ที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจ สำหรับใครที่อยากทราบความเป็นมาของ เทศกาลยี่เปง ทำความรู้จักกับเทศการความสวยงามนี้ให้ มากขึ้น ตามเรามาดูประวัติความเป็นมาไปพร้อมกันเลย

เทศกาลยี่เป็ง คืออะไร

เทศกาลยี่เป็ง

เทศการยี่เป็ง นั้นคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาล้านนา ซึ่งสามารถแยกออกได้สองคำ หนึ่งคือคำว่า “ยี่” ซึ่งมีความหมายถึงเดือนที่สอง หรือเดือนยี่ ตามที่ชาวล้านนานั้นใช้เรียกเดือนพฤศจิกายน ครับ คำที่สองคือคำว่า “เป็ง” หมายถึงพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ นั่นเองครับ โดยจะมีการจัดงานจำนวน 3 วัน ซี่งประเพณีนี้มีความเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านนาเลยครับ

สำหรับเทศกาลเดือนยี่เป็ง ถือว่าเป็นประเพณีใหญ่ที่พระมหากษัตริย์และประชาชนนั้นต่างพากันนมัสการบูชาพระในอาราม และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของคติความเชื่อที่เกี่ยวกับประเพณียี่เป็งอีกหลายอย่าง ก็คือ เพราะเชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคาที่ได้ประทานน้ำมาเพื่อมาให้การเพาะปลูก เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานทีในคติทางพุทธศาสนา ส่วนชาวบ้านนั้นเชื่อกันว่าเป็นการลอยเคราะห์ปล่อยเสนียดจัญไรต่าง ๆ ออกไปจากชีวิตครับ

เทศกาลยี่เป็ง

นับได้ว่าเป็นความเชื่อที่อยู่คู่กับประเพณียี่เป็งมาอย่างช้านาน โดยว่ากันว่าเพื่อลอยเคราะห์ลอยบาป ส่งของให้สู่บรรพบุรุษ ทั้งยังเป็นการบวงสรวงพระผู้เป็นเจ้า บูชาพระพุทธบาท และอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนา ในปัจจุบันนี้ งานยี่เป็ง จึงได้กลายเป็นงานลอยกระทงที่มีความยิ่งใหญ่อลังการ ไม่ว่าจะงานลอยโคมตามประทีป และการลอยกระทง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด

ว่าว หรือ โคมลอย ในวันยี่เป็ง เป็นอย่างไร

เมื่อพูดถึง โคมลอย ตามคนภาคกลาง แต่ทว่าชาวล้านนาจะเรียกกันว่า “ว่าว” ซึ่งคำว่า “ว่าว” ในภาษาล้านนา จะหมายถึง เครื่องเล่นชนิดหนึ่งที่ถูกทำขึ้นมาด้วย “กระดาษ” วิธีการเล่นก็คือปล่อยให้ลอยไปตามลมครับ โดยจะมีลักษณะคล้ายๆกับบอลลูน ตามวัฒนธรรมของล้านนา ช่วงเทศกาลยี่เปงจะมีการปล่อยว่าว 2 แบบ ดังนี้ครับ

เทศกาลยี่เป็ง
  1. ว่าวฮม หรือ ว่าวลม และ ว่าวควัน เป็นโคมลอยแบบปกติที่เราได้เห็นกันอยู่ โดยว่าวชนิดนี้จะใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปภายในตัวว่าว ที่เรียกกันว่า ฮมควัน เพื่อช่วยพยุงให้ว่าวลอยขึ้นไปในอากาศ ซึ่งในภาษากลางเรียกว่า “โคมลอย” ครับ
  2. ว่าวไฟ นั้นจะใช้หลักการเหมือนๆ กับการทำว่าวฮม แต่ทว่าจะใช้กระดาษน้อยกว่าครับ และอาศัยความร้อนจากลูกไฟที่ได้ผูกติดไว้กับแกนกลาง ซึ่งจะนิยมจุดในตอนกลางคืน ในภาษากลางเรียกกันว่า “โคมไฟ” ครับ

ล่องสะเปา ลอยกระทงฉบับล้านนา

เทศกาลยี่เป็ง

ชาวล้านนา นั้นจะมีกระทงที่เป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง ซึ่งเรียกกันว่า สะเปา หรือ ไหลเรือสำเภา โดยที่ชาวบ้านนั้น จะไปทำสะเปาร่วมกันที่วัด หลังจากทำเสร็จแล้วจะนำวางลงบนแพไม้ไผ่ และนำสะตวง พร้อมด้วยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ นำใส่ลงไปในสะเปา ช่วงหัวค่ำของวันยี่เป็ง และได้พากันหามสะเปาไปลอยที่แม่น้ำ เมื่อลอยไปได้ระยะหนึ่ง จะมีคนยากจนมาคอยดักรอสะเปากลางแม่น้ำ เพื่อนำเอาของอุปโภคต่างๆ มาใช้ ถือว่าเป็นการบริจาคทานแบบหนึ่งครับ

และนี่ก็คือ เทศกาลยี่เป็ง ซึ่งเป็นประเพณีที่มีการสืบสานมาแต่โบราณของชาวล้านนา นับว่าประเพณีนี้อยู่บนฐานความเชื่อเดียวกับประเพณีลอยกระทงในภูมิภาคอื่น ๆ ครับ ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการขอขมาต่อพระแม่คงคา พร้อมกับบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวล้านนาอีกด้วย สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวที่ไหนกันต่อ สามารถรอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ